วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ความสัมพันธ์ไทย – สหภาพยุโรป

 

ความสัมพันธ์ไทย – สหภาพยุโรป

 


                  




















ไทยกับสหภาพยุโรป (European Union – EU)  มีความสัมพันธ์ทางการทูตมายาวนานกว่า 40 ปี โดยได้มีการจัดตั้งคณะผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรปที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2521 ซึ่งถือเป็นคณะผู้แทนแห่งแรกของประชาคมยุโรปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย”  ในส่วนของไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ มีฐานะเป็นคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรปด้วย

 

ด้านการเมือง

ไทยกับอียูมีกลไกดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-อียูมาตั้งแต่ปี 2535-ปัจจุบัน มีการประชุมมาแล้ว 14 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 ณ กรุงบรัสเซลส์ ขณะนี้ไทยกับ EU อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อลงนามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement – PCA) โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถลงนามได้ภายในปี 2564 ทั้งนี้ ความตกลง PCA จะช่วยสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายให้ใกล้ชิดและมีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในทุกมิติของความสัมพันธ์

 

ด้านเศรษฐกิจ

ไทยกับ EU กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement – FTA) โดยอียูเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย ในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอียูมีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.21 ของการค้าต่างประเทศของไทยทั้งหมดซึ่งมีมูลค่า 15 ล้านล้านบาท โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า EU

ประเทศสมาชิก EU ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยไป EU ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  รถยนต์และอุปกรณ์  อัญมณีและเครื่องประดับ  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ  ผลิตภัณฑ์ยาง  แผงวงจรไฟฟ้า  ไก่แปรรูป  รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรกจาก EU ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  เคมีภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์  เครื่องบินและอุปกรณ์การบิน  เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์  แผงวงจรไฟฟ้า  เครื่องเพชรพลอย อัญมณี

 

ด้านการลงทุน

EU อยู่ในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ 5 อันดับแรกของไทย (ร่วมกับญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และอาเซียน) โดยประเทศสมาชิก EU ที่มีมูลค่าการลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน และฝรั่งเศส

 

ความร่วมมือด้านมาตรฐานระหว่างไทย – สหภาพยุโรป

ไทยกับ EU มีกรอบความร่วมมือในการยกระดับมาตรฐานด้านต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ มาตรฐานด้านการประมง แรงงาน การบินพลเรือน ผลิตภัณฑ์ไม้ ทรัพย์สินทางปัญญา ด้านภาษี เกษตรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการยกระดับมาตรฐานเหล่านี้ ถือเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนในระยะยาวให้กับประเทศไทย ผ่านโครงการความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลกับอียู ที่ผ่านมามีการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่

  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 3 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 (ผ่านระบบทางไกล)
  • EU-Thailand Labour Dialogue ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563
  • Joint Taskforce between Government of Thailand and DG MARE in combating against IUU Fishing ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคม 2562
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562
  • Joint Taskforce between Government of Thailand and DG MARE in combating against IUU Fishing ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2562
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561
  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 2 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561
  • EU-Thailand Labour Dialogue ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2561
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560
  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 1 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2560

 

ความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนา

EU มีโครงการสนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาวิจัยของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐและเอกชนในหลายระดับ ได้แก่ ระดับทวิภาคี ระดับอาเซียน ระดับภูมิภาคเอเชีย (โครงการ SWITCH-Asia) และระดับโลก (ทุน Erasmus Mundus และ Erasmus+ และทุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม (Horizon 2020))

 

ความร่วมมือกับอาเซียน

EU มองอาเซียนว่าเป็นหุ้นส่วนโดยธรรมชาติ (natural partner) และประสงค์จะมีความร่วมมือ
ในทุกมิติ และมีความประสงค์ที่จะผลักดันและยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียนจาก “หุ้นส่วนที่เพิ่มพูน” (Enhanced Partnership) ในปัจจุบันไปสู่ความเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์” (Strategic Partnership) ต่อไปในอนาคต โดยประเด็นที่ EU ให้ความสนใจ เช่น ความมั่นคงทางทะเล การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ เป็นต้น

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ

   แบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ ตัวอย่างแบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ สำหรับท่านที่ต้องนำเอกสารราชการของไทยไปติดต่อกับหน่วยงานของสหรัฐฯ และต้องแป...