วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

การรับรองเอกสารในประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก

 

การรับรองเอกสารในประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก


ประทับตรานิติกรณ์รับรองลายมือ

รับรองลายมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก

  • สำหรับเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก และประสงค์จะนำไปใช้ในประเทศไทย
  • หากหน่วยงานปลายทางในประเทศไทยต้องการเอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทย  เช่น สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่าที่ออกโดยหน่วยงานราชการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก แล้วจะนำไปยื่น ณ หน่วยงานราชการไทย
    • เอกสารดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลสาบานตน (sworn translator) ดูข้อมูลนักแปลที่สถานเอกอัครราชทูตมี ณ ปัจจุบันได้ที่นี่ โดยนักแปลจะต้องเย็บต้นฉบับและฉบับแปลเข้าด้วยกันพร้อมประทับตราของนักแปลที่มุมขวาบน
    • หลังจากนั้นจะต้องนำเอกสารฉบับแปลไปรับรองการแปลที่กระทรวงยุติธรรมของประเทศที่นักแปลสาบานตนจดทะเบียน 
      • กรณีเอกสารออกโดยทางการเบลเยียม และนักแปลจดทะเบียนในเบลเยียม ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมเบลเยียม
      • กรณีเอกสารออกโดยทางการลักเซมเบิร์ก และนักแปลจดทะเบียนในลักเซมเบิร์ก ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมลักเซมเบิร์ก
      • กรณีเอกสารออกโดยทางลักเซมเบิร์ก และนักแปลจดทะเบียนในเบลเยียม ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมเบลเยียม
    • และ นำเอกสารทั้งต้นฉบับไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศที่ออกเอกสารต้นฉบับนั้น และนำฉบับแปล (ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงยุติธรรม) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของประเทศเดียวกันกับกระทรวงยุติธรรม (แบบกระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์) 
    • ***ท่านสามารถแปลเอกสารจากภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาไทยได้ แต่ต้องนำเเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองคำแปลที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

      กงสุลจะรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กเท่านั้น (ไม่รับรองเนื้อหาของเอกสาร)

  • เมื่อเอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองโดยกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์แล้ว ท่านต้องนำเอกสารไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ (กดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่  และ กดดูสถานที่ให้บริการได้ที่นี่) ก่อนนำเอกสารไปยื่น ณ หน่วยงานไทย

เตรียมเอกสารดังนี้

  1. ใบคำร้องนิติกรณ์ 1 ชุด พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
  2. เอกสารต้นฉบับที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ( แบบกระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์)
  3. (หากมี) เอกสารฉบับแปลที่มีการประทับตรารับรองจากกระทรวงยุติธรรมของประเทศที่นักแปลสาบานตนจดทะเบียนไว้ และได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
  4. สำเนาเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
  5. ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร

ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ








































การขอรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย

ในกรณีนี้ กงสุลจะรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทย

  1. ใบคำร้องนิติกรณ์ 1 ฉบับ พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
  2. เอกสารต้นฉบับที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทย
  3. สำเนาเอกสารตามข้อ 2 ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
  4. ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร

หมายเหตุ: ไม่มีบริการส่งเอกสารคืนทางไปรษณีย์ (เพื่อป้องกันต้นฉบับเอกสารราชการไทยของท่านสูญหาย)

ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ


ที่มา  ::   https://www.thaiembassy.be/2021/08/24/legalisation/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ

   แบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ ตัวอย่างแบบฟอร์มการแปลเอกสารราชการ สำหรับท่านที่ต้องนำเอกสารราชการของไทยไปติดต่อกับหน่วยงานของสหรัฐฯ และต้องแป...